5 ขั้นตอนการสร้างบ้าน รู้ไว้ไม่เสียหาย
ข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับบ้านทรุด บ้านพัง หรือโครงสร้างการก่อสร้างมีปัญหา ตั้งแต่บ้านระดับราคาไม่กี่ล้านบาทจนถึงระดับหลายสิบล้านบาท ล้วนทำให้เราใจคอไม่ดีและนึกไปถึงบ้านในฝันที่เราอุตส่าห์เก็บหอมรอมริบกว่าจะได้เป็นเจ้าของ
แทนที่จะนั่งฝันนับถอยหลังรอวันบ้านสร้างเสร็จหรือนั่งลุ้นให้บ้านออกมาดีดังใจ เราควรให้ความสำคัญกับการตรวจตราสอดส่องระหว่างทางการก่อร่างสร้างบ้านแต่ละขั้นตอน อย่างน้อยก็ช่วยให้เราได้อุ่นใจและป้องกันความยุ่งยากในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง ด้วยขั้นตอนการสร้างบ้าน ดังนี้
• ปรับพื้นที่และผังอาคาร
การสร้างบ้านต้องเริ่มจากการปรับพื้นที่ที่ดินให้มีความสม่ำเสมอและแข็งแรงเพียงพอรับน้ำหนักบ้าน โดยทั่วไปควรถมดินในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ดินแน่นและมีคุณภาพ รวมถึงสามารถทำงานได้สะดวก ในทางตรงกันข้าม เราไม่ควรถมดินในช่วงฤดูฝน เพราะทำให้พื้นดินไม่แน่น และอาจจะเกิดเหตุดินไหลได้ นอกจากนั้น การปรับที่ดินควรถมดินให้สูงกว่าระดับถนนประมาณ 50-80 เซนติเมตร และอยู่สูงกว่าท่อระบายน้ำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงน้ำรอระบายในอนาคต
หลังจากปรับพื้นที่เรียบร้อย เราจึงเริ่มลงมือสร้างบ้านตามสภาพที่ดินจริง โดยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนแบบแปลนที่มีอยู่ โดยเฉพาะตำแหน่งของเสาเข็มให้เข้ากับหน้างาน ซึ่งอาจจะมีอุปสรรคขวางอยู่ เช่น แนวเสาเข็มโครงสร้างอาคารเดิมหรือต้นไม้ใหญ่ รวมถึงทัศนวิสัยรอบด้านที่มีผลต่อการปลูกสร้างบ้าน ทำให้ต้องคำนวณแนวทางการวางผังอาคารใหม่ให้เหมาะสม
• งานฐานรากและโครงสร้างหลัก
แนวทางการก่อสร้างบ้านต้องเริ่มจากชั้นล่างขึ้นไปยังชั้นบน เพื่อเป็นเส้นทางการลำเลียงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น คอนกรีต แผงเหล็ก และไม้ ซึ่งเราจำเป็นต้องเตรียมโครงสร้างบ้านให้ดีสำหรับการรองรับโครงเสาและคาน ไม่ว่าจะเป็น การลงเสาเข็มหรือการหล่อตอม่อ รวมทั้งการฉีดน้ำยากันปลวกระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งโครงสร้างบ้านที่ดีถือเป็นหลักประกันความแข็งแรงและปลอดภัยในอนาคต
ส่วนงานเสาเข็ม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการค้ำยันที่อยู่อาศัยถ่ายน้ำหนักบ้านลงพื้นดิน โดยการตอกเสาเข็มควรตอกไม่ถึงชั้นทรายในระยะยาว และทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดความกว้างเสาเข็ม เพื่อไม่ให้แรงระหว่างดินกับเสาเข็มได้รับการรบกวน ซึ่งบริษัทรับเหมาและผู้ออกแบบจะเป็นผู้ดำเนินการสำรวจหน้างาน พร้อมกำหนดประเภทของเสาเข็มให้เหมาะสมกับพื้นที่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ ด้วยคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
สำหรับการตรวจสอบคุณภาพต้องผ่านการทดสอบความแข็งแรงให้สามารถรับน้ำหนักตามมาตรฐานหรือ Load test ไม่เยื้องศูนย์ หากเกิดข้อผิดพลาด ผู้รับเหมาและผู้ออกแบบต้องแก้ไขให้เรียบร้อย รวมถึงการตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมหล่อฐานราก ผู้รับเหมางานเสาเข็มและผู้รับเหมาหลักต้องยืนยันระดับฐานรากให้ตรงกันก่อนส่งงาน
ขณะเดียวกันงานโครงสร้างชั้นล่างยังประกอบด้วยคานคอดิน คาน เสา และพื้นชั้นล่าง โดยการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กในงานโครงสร้างควรมีขนาดและค่ากำลังอัดตามที่วิศวกรคำนวณ ซึ่งต้องใช้เวลาบ่มเพาะคอนกรีดและถอดแบบค้ำยันประมาณ 14-28 วัน เพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้ เช่นเดียวกับงานโครงสร้างชั้นบนที่ต้องใช้ระยะเวลาบ่มคอนกรีต และเริ่มงานเสา คานหลังคา รวมถึงชิ้นส่วนตกแต่งอื่นๆ เช่น กันสาด ขอบปูน บัว พร้อมทั้งขึ้นโครงหลังคาที่มีให้เลือกทั้งโครงหลังคาเหล็ก และโครงหลังคาสำเร็จรูป
นอกจากนั้น ในขั้นตอนนี้จะมีการขุดดินสำหรับการวางระบบสุขาภิบาล เช่น ระบบน้ำทิ้ง ท่อประปา และบ่อพัก ซึ่งได้รับการติดตั้งและเดินท่อเข้าภายในบ้าน โดยเราควรถ่ายรูป และจดบันทึกตำแหน่งงานระบบไว้เป็นข้อมูลเผื่อ
การซ่อมแซมในวันข้างหน้า
• หลังคาและโครงสร้างบันได
หลังจากงานโครงสร้างหลักสำเร็จเรียบร้อย เราจึงเริ่มการติดตั้งหลังคาที่สอดคล้องกับภูมิประเทศหรือภูมิอากาศ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก เช่น หลังคาทรงจั่ว ทรงปันหยา ทรงแบน ทรงเพิงหมาแหงน เป็นต้น รวมถึงสีสันของหลังคาที่แตกต่างตามความชอบ โดยในช่วงนี้ยังเป็นช่วงเริ่มหล่อโครงสร้างบันไดและเก็บงานโครงสร้างส่วนอื่นๆให้พร้อมสำหรับการก่อผนังและใช้วัสดุปิดผิวต่อไป
• ผนังบ้าน วงกบ และงานเดินระบบ
ในขั้นตอนการก่อผนังและหล่อเสาเอ็น คานเอ็น ขึ้นอยู่กับการเลือกผนังหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ผนังก่ออิฐ ผนังสำเร็จรูปหรือ Precast ผนังยิปซั่ม ผนังกระจก พร้อมติดตั้งวงกบประตูและหน้าต่างตามแบบที่วางไว้ โดยงานฉาบผนังก่ออิฐจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและพิถีพิถันในการฉาบผนังให้เรียบสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับผนังเบาที่ต้องฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียนสำหรับการปิดผิวต่อไป
นอกจากนั้น ในขั้นตอนนี้เรายังสามารถเดินท่องานระบบต่างๆฝังลงไปในผนังทั้งระบบไฟฟ้า ระบบประปา ช่องเซอร์วิส และการติดตั้งฝ้าเพดานที่กำหนดระดับความสูงตามแบบ ด้วยการติดตั้งโครงฝ้าและใช้วัสดุผ้าเพดานปิดทับ เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นยิปซัม เป็นต้น
• งานตกแต่งบ้าน
วัสดุก่อสร้างและการตกแต่งที่เราสามารถเลือกให้สอดคล้องต่อการอยู่อาศัยและความชอบที่อิงกับการออกแบบไว้อย่างลงตัว เช่น การทาสี การปูกระเบื้อง การติดวอลเปเปอร์ หรือวัสดุพื้น เช่น ไม้ปาร์เกต์ ไม้ลามิเนต หินขัด โดยควรคำนึงถึงคุณภาพและระยะเวลาการใช้งานรวมถึงความปลอดภัยประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
นอกจากนั้น การตกแต่งบ้านยังครอบคลุมถึงการติดตั้งบานประตู หน้าต่างเข้ากับวงกบที่ติดตั้งไว้ โดยขอบผนังควรเรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับดิ่ง-ฉาก เพื่อให้ประตูและหน้าต่างติดตั้งได้พอดี ไม่รั่วซึมในอนาคต เช่นเดียวกับการเอาใจใส่ในขั้นตอนการบิลท์อินเฟอร์นิเจอร์ต่างๆทั้ง ห้องนอน ห้องครัว ชั้นวางของ รวมถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์และสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ พร้อมทั้งจัดระบบแสงสว่างให้มีการเดินสายไฟเชื่อมกับสวิตช์ไฟ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เรียบร้อย
ที่สำคัญ คือ อย่าจรดปากกาเซ็นรับงาน หากพบข้อผิดพลาดและช่างยังไม่ดำเนินการแก้ไขให้ รวมถึงควรตรวจสอบการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ติดตามอ่านความเชื่อ และคำทำนายแม่นๆแบบนี้ได้ใหม่ที่ www.lekdedonline.com
เลขเด็ดออนไลน์ ตรวจผลหวยรัฐบาล หวยลาว หวยฮานอย หวยมาเลย์ แนวทางหวย รวบรวมทุกอย่างครบจบในเว็บเดียวเพื่อความสะดวกสบาย และยังมี วิธีการขอหวย สถานที่ขอหวยที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทยรวบรวมมให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านศึกษากันอย่างครบครัน แนวทางที่ทางเว็บเรานำมาแบ่งปันให้คนรักหวยได้ชม.
*** ดวงรายวัน เลขเด็ดมงคล เลขมงคล เลขเสี่ยงทาย ดูดวงจากตัวเลข ทำนายฝัน ***
ต้องที่นี่ >>> เลขเด็ดออนไลน์ <<<
เรื่อง : ddproperty
ภาพสวยๆจาก : Pixabay