คาถาชินบัญชร สวดเลย เสริมศิริมงคล เมตตามหานิยม ลาภผลเพิ่มพูล
คาถาชินบัญชร ประวัติที่มาของ คาถาชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร เป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญมายาวนาน ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 2 จวบจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นบทสวดมนต์ที่ชาวไทยนิยมสวดเป็นประจำ ด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล และพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระคาถาชินบัญชรนั่นเอง แม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งพระคาถาชินบัญชร และมีหลายคนเข้าใจว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นผู้แต่ง แต่ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ระบุไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นผู้ปรับบทสวดจากเดิมที่มีอยู่แล้ว มิได้เป็นผู้แต่งคนแรก โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง พร้อมรับสั่งว่าไพเราะและตรัสถาม “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” คาถาชินบัญชร ความหมายของ คาถาชินบัญชร คำว่า ชินบัญชร นั้นมาจากภาษาบาลี คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ ความหมายโดยรวมของ คาถาชิญชร จึงแปลได้ว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า ซึ่งเนื้อหาในคาถาในชินบัญชรเป็นการสวดอัญเชิญพระพุทธเจ้า จำนวน 28 พระองค์เสด็จมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เปรียบเสมือนการอาราธนาพุทธคุณเป็นเกราะปกป้องคุ้มกันภัย และเสริมสิริมงคลนานาประการให้แก่ผู้สวดบูชานั่นเอง […]