ความเชื่อคนอินเดีย ตายแล้วไปไหน ?

ความเชื่อคนอินเดีย ตายแล้วไปไหน ?

ความเชื่อคนอินเดีย ตายแล้วไปไหน ? หากเอ่ยถึง ความตาย แน่นอนว่าย่อมเป็นสิ่งที่เราจะต้องเผชิญด้วยตัวเองไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่ง คนอินเดียก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความตายเหมือนๆกันกับชาติอื่นๆ วันนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งความเชื่อของคนอินเดียที่ว่า ตายแล้วไปไหน ?         พิธีการจัดการเกี่ยวกับศพ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าว่า ร่างกายเป็นของปฏิกูล เมื่อตายแล้วก็ไร้ประโยชน์วิญญาณออกจากร่างไปสู่ที่อื่น ดังนั้นจึงควรเผาเสีย แต่มุสลิมถือว่าร่างกายเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ เมื่อตายแล้ววิญญาณก็ยังสถิตอยู่ การตายของคนเป็นเพียงการพักผ่อนเท่านั้น เมื่อถึงวันก็กลับฟื้นคืนมาอีก ดังนั้นจึงไม่เผาและพยายามสร้างที่ฝังศพให้ดีสวยงาม เช่น อนุสรณ์ทัชมาฮาล เป็นต้น การเผาศพของชาวอินเดียที่เป็นฮินดูว่า มีพิธีตามลำดับ ดังนี้         ก่อนตาย เมื่อรู้ว่าผู้ป่วยกำลังจะสิ้นลมหายใจ ญาติพี่น้องของผู้ป่วย จะยกร่างของผู้ป่วยลงจากเตียงมานอนไว้กับพื้น เชิญพราหมณ์มาสาธยายมนต์ ญาติพี่น้องเริ่มแจกทานแก่คนจน หามูลโคมาฉาบทาพื้นและเอาใบตุลสีหรือกะเพรามาปกคลุมพื้นที่คนป่วยนอนอยู่ ให้คนป่วยนอนคว่ำหน้าลง หันศีรษะไปทางเหนือ เอาน้ำคงคาที่ใส่หม้อมาหยดลงใส่ปาก และพรมตามตัวของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยสิ้นลมหายใจ ญาติพี่น้องพากันร้องไห้แสดงความอาลัยอาวรณ์และจะถวายวัวแก่พราหมณ์ผู้ทำพิธี ตายแล้ว เมื่อผู้ป่วยสิ้นลมหายใจแล้ว ลูกชาย น้องชาย เพื่อนชาย หรือลูกศิษย์จะโกนผม ญาติพี่น้องร้องไห้ ไม่ยอมทานอาหารหรือทานแต่น้อย คนในครอบครัวจะทำอาหารทานเองไม่ได้ […]

นรกสวรรค์ มีจริงหรือแค่นิทาน ?

นรกสวรรค์ มีจริงหรือแค่นิทาน ?

นรกสวรรค์ มีจริงหรือแค่นิทาน ? นิยามของคำว่า นรก-สวรรค์  เมื่อกล่าวถึง นรก และ สวรรค์แล้ว เกือบจะไม่มีใครที่ไม่ได้รับรู้หรือ ไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือไม่ได้รับคำสอนมาก่อน เกือบทุกคน จะได้รับคำสอนหรือคำบอกเล่าจากสังคม จากครอบครัว หรือจากศาสนาลัทธิที่ตนนับถือ เกี่ยวกับเรื่องของ นรกและสวรรค์ ซึ่งโดยทั่วไปจะกล่าวคล้ายคลึงกัน นั่นคือ นรก คือสถานที่ลงโทษ ทำการทรมานผู้ที่กระทำความผิดบาป ในเรื่องของศีลธรรม หรือในเรื่องของกรรม ที่เป็นกรรมชั่ว นรกในคำสอนของแต่ละศาสนา มักจะบรรยายถึงสภาพแห่งความทุกทรมาน เช่น จะถูกทุกตี ทิ่มแทง ด้วยของแหลมคม ถูกเผา ด้วยไฟที่ร้อนแรงกว่าที่เห็นในโลก ถูกต้มในน้ำเดือด ไม่มีอาหารนอกจากน้ำหนอง ผลไม้ที่เป็นหนามแหลมคม เมื่อกลืนเข้าไปจะทิ่มแทงกระเพาะลำไส้ ต่างๆนานา คำสอนเรื่องของนรก เป็นเรื่องที่บรรยายในสภาพที่น่ากลัว น่าสยดสยอง น่าหดหู่ ไม่ว่าในลัทธิหรือศาสนาใดๆส่วนใหญ่จะบรรยายและพรรณนาในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทั้งสิ้น สวรรค์ คือ สถานที่ตอบแทนสำหรับผู้ที่ประกอบกรรมดี มีศีลธรรม มีคุณธรรม เรื่องของสวรรค์ก็เป็นเรื่องที่ศาสนาหรือลัทธิคำสอนทั้งหลายได้บรรยายในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันคือ สวรรค์จะเต็มไปด้วยสิ่งสวยงาม มีอาหารที่มีรสอร่อยที่หลากหลาย มีสวนผลไม้ และต้นไม้ที่สวยสดงดงาม มีธารน้ำ […]

โลกหลังความตาย  มีจริงหรือแค่เรื่องเล่า ?

โลกหลังความตาย มีจริงหรือแค่เรื่องเล่า ?

โลกหลังความตาย มีจริงหรือแค่เรื่องเล่า ? ตั้งแต่สมัยโบราณ เรามักเชื่อกันว่า ดวงวิญญาณที่ออกจากร่าง ในตอนแรกจะวนเวียนอยู่บริเวณนั้น… พอได้สติ ก็จะมีท่านมัจจุราชทำหน้าที่มานำเอาวิญญาณของมนุษย์หรือสัตว์ที่ชะตาถึงฆาต พาไปยังยมโลก เพื่อตรวจสอบบาปบุญความดีความชั่ว ในขณะที่มีชีวิตอยู่ เชื่อว่า วิญญาณบาปจะถูกนำตัวส่งไปนรก 8 ขุมใหญ่ แต่ละขุมแบ่งย่อยขุมละ 36 แห่ง แต่ละแห่งมีการลงทัณฑ์และทรมานอีก 800 ด่าน แต่ละด่านมีเครื่องทรมานนับไม่ถ้วน วิญญาณบางดวงอาจตกนรกทั้ง 8 ขุมเลยก็มี โดยเฉพาะคนที่ทำกรรมชั่วมหันต์หรือเรียกว่า “อนันตริยกรรม” มีอยู่ 5 อย่าง คือ 1. ฆ่าพ่อ 2. ฆ่าแม่ 3. ฆ่าพระอรหันต์ 4. ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก 5. ทำร้ายพระพุทธเจ้าห้อเลือด หลังจากที่คนเราตายประมาณ 1-2 วัน ปกติแล้วเขาจะไม่รู้ว่าตัวเองตายหลังจาก 7 วันให้หลังเขาจึงจะรู้ว่าตนเองตายแล้ว วิญญาณจะถูกกักบริเวณไว้ 49 วัน เพื่อรอพิจารณาคดี ในระหว่างนั้นผู้ตายก็กำลังรอบุญกุศลจากลูกหลานทางโลก ที่กำลังง่วนอยู่กับงานศพของท่านนั้นเอง มาดูปรากฏการณ์ […]

ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร?

ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร?

ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร? โดยความเป็นจริงแล้วนั้น คนที่ตายแล้วจะไปเกิดที่ใดนั้นขึ้นอยู่กับวาระสุดท้ายของจิต หากขาดใจตายขณะจิตเศร้าหมอง ปฏิสนธิวิญญาณก็จะนำไปเกิดในทุคติภพหรืออบายภูมิ 4 อันมีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน (จิตฺเตสงฺกิลิฏฺเฐฺ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา) หากตอนจะตาย จิตผ่องใส ปฏิสนธิวิญญาณก็จะนำไปเกิดในสุคติภพ อันมีมนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น (จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐฺ สุคติ ปาฏิกงฺขา) หาก จิตหมดกิเลสตัณหา คือจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่มีการเกิดอีก คนตายจะไปเกิดหรือไม่ และไปเกิด ณ ที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตของเขา หาใช่มีผู้อื่นมาลิขิตไม่ ใครสร้างเหตุไว้เช่นใดย่อมจะได้รับผลเช่นนั้น พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุและผลสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ค.ศ. 1879-1955) จึงยอมรับและกล่าวถึงพุทธศาสนาว่า “ศาสนาในอนาคตควรจะเป็นศาสนาที่เป็นสากล (cosmic religion) โดยไม่ยึดติดกับพระเจ้าหรือกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติอันเคร่งครัด จะต้องเป็นศาสนาที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของทุกสรรพสิ่ง ทั้งที่เป็น […]