บินดิ (ติลักษณ์) สัญลักณ์มงคลตามความเชื่อชาวอินเดีย

บินดิ (ติลักษณ์) สัญลักณ์มงคลตามความเชื่อชาวอินเดีย

บินดิ (ติลักษณ์) สัญลักณ์มงคลตามความเชื่อชาวอินเดีย   บินดิ – มีชื่อเรียกเยอะแยะ เช่น ติกะ, พอททู (อันนี้เป็นภาษาเรียกของทมิฬ), ซินดูร์, ติลักษณ์, ติลักกัม, บินดิยา, กุมกุม ชื่อพวกนี้เรียกแตกต่างกันเพราะ ความแตกต่างกันของท้องถิ่น หรือ วัสดุที่นำมาใช้ บินดิ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต บางครั้งก็เรียกว่า บินดี ซึ่งแปลว่า จุด ชาวอินเดียส่วนมากที่นับถือศาสนาฮินดู เชื่อว่า บินดิเป็นสัญลักณ์อันเป็นมงคล มากกว่าคิดถึงเรื่องความสวยความงาม โดยหญิงชาวฮินดูไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เค้าจะทำสัญลักษณ์นี้ไว้บริเวณระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง โดยส่วนมากจะใช้ผงซินดูร์ หรือ กุมกุม แต่เดิมนั้น อินเดียตอนเหนือนั้นจะเป็นที่เข้าใจกันว่า บินดิ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะทางสังคมว่าหญิงผู้นี้ได้ผ่านพิธีการมงคลสมรสแล้ว แต่ทางอินเดีย ใต้นั้น ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงาน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะแต้มบินดิทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะแต่งงาน เจ้าบ่าวจะแต่งตัวไม่สมบูรณ์ถ้าขาดติลักษณ์ ติลักษณ์นี้จะถูกทำสัญลักณ์บริเวณหน้าผากของเจ้าบ่าว ขณะอยู่ในพิธีแต่ง งาน เพราะผู้นับถือฮินดูอย่างเคร่งครัดจะมีความเชื่อว่า จะไม่มีประเพณีใดหรือการบูชาใดที่สมบูรณ์ ถ้าขาด ติลักษณ์ และ […]