พระเครื่อง กรุคลองตะเคียน
พระเครื่อง กรุคลองตะเคียน ตำบลคลองตะเคียนเป็นตำบลเก่าแก่ มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เนื่องจากเป็นชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่มาทำการค้าสมัยอยุธยาใช้เป็นสถานที่พำนักพักพิง ซึ่งสถานที่ตั้งตำบลมีลำคลองใหญ่ เคยมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บริเวณปากคลองด้านทิศตะวันออก ในสมัยโบราณใช้เป็นเส้นทางล่องซุงทำไม้ ดังนั้นจึงได้เรียกชื่อตำบลตามชื่อลำคลองว่าตำบลคลองตะเคียน พระกริ่งคลองตะเคียน อยุธยา พบครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่บ้านครองเคียน พระเรี่ยอยู่ตามพื้นดิน นิษฐานว่าพระเถระ วัดประดู่โรงธรรมในสมัยอยุธยา สร้างตามแบบพระคงเมืองลำพูน ต่อมาในตันกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงพ่อเลื่อง สุลีโล เจ้าอาวาสได้สืบตำรับต่อมาจนถึงหลวงพ่อม่วง ซึ่งนอกจากจะสร้างพระกริ่งคลองตะเคียนแล้ว ยังสร้างพระเปิม พระรอด เนื้อผงเข้าดินดิบอีกด้วย เนื้อพระกริ่งคลองตะเคียนสมัยอยุธยาเป็นพระเนื้อดินเผาคำ เป็นการจงใจเผาให้เกิดสีแบบนั้น มีความแข็งแกร่งและมันหนึก การจารอักขระที่ด้านหลังพระจะลึก ตามซอกอักขระมักมีไขขาวเกาะแน่น บางองค์ก็มีสีน้ำหมากเกาะติด พระพุทธคุณ พระกริ่งคลองตะเคียนนั้นมีสิ่งซึ่งเชื่อถือกันมาก ทางด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันได้สารพัดไม่ว่าจะเป็น มีด ไม้ หรือลูกปืน ตลอดจนเรื่อง ทางเขี้ยว งา และอีกอย่างหนึ่ง ทางด้านเมตตามหานิยม พระกริ่งคลองตะเคียนนั้นมีดีทั้ง ภายใน และ ภายนอก คำว่าภายใน หมายถึง ท่านพระอาจารย์ที่ปลุกเสก นั้นมีวิทยาคุณดีเลิศที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย หรือมีพระพุทธคุณดี ส่วนคำว่า […]