คนถูกหวย 1/6/68 ชาวบ้านดวงเฮง แก้บนหลวงพ่อใหญ่ วัดห้วยสูบ หลังเขย่าเซียมซีได้เลข ถูกรางวัลหลาย 10 ใบ

คนถูกหวย 1/6/68 ชาวบ้านดวงเฮง แก้บนหลวงพ่อใหญ่ วัดห้วยสูบ หลังเขย่าเซียมซีได้เลข ถูกรางวัลหลาย 10 ใบ

เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 1 มิถุนายน 2568 คนถูกหวย 1/6/68 ชาวบ้านดวงเฮง จำนวนมากเดินทางมา แก้บน  “หลวงพ่อใหญ่” ภายในวิหารของวัด หลังถูกรางวัลเลขท้ายหลายสิบใบ ที่วัดห้วยสูบ ตำบลนามะตูม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ก่อนหน้านี้ได้มาขอพร และเขย่าเซียมซี จนได้เลขนำโชคไปซื้อลอตเตอรี่ ปรากฏว่าถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว กันเป็นจำนวนมาก ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่นี่ lekdedonline คนถูกหวย 1/6/68 ชาวบ้านต่างนำดอกไม้ ธูป เทียน และประทัดจำนวนกว่า 20,000 นัด สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัลมาถือไว้คนละชุด ขณะกำลังกราบไหว้หลวงพ่อใหญ่อยู่บนวิหารด้วยความศรัทธาและปลื้มปิติในโชคลาภที่ได้รับ ด้านนางรัตพร อายุ 51 ปี ผู้โชคดีได้เผยว่า ก่อนหน้านี้ได้มาขอโชคลาภกับหลวงพ่อใหญ่ โดยเขย่าเซียมซีได้ เลข 20 จึงนำไปซื้อลอตเตอรี่เป็นหวยชุด ชุดสี่ใบ แต่เพื่อนที่มาด้วย โชคดีได้ชุด 10 ใบกันหลายคน […]

คาถาบูชาพระพุทธชินราช หมั่นภาวนา อานิสงค์ให้ชีวิตรุ่งเรือง มีโชคลาภด้วย

คาถาบูชาพระพุทธชินราช หมั่นภาวนา อานิสงค์ให้ชีวิตรุ่งเรือง มีโชคลาภด้วย

มอบความเป็นสิริมงคล คาถาบูชาพระพุทธชินราช พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก พระพุทธชินราช หรือที่เรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก องค์พระเดิมสร้างขึ้นจากสำริดก่อนลงรักปิดทองในเวลาต่อมา พระพุทธชินราช เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระพุทธรูปที่ได้ชื่อว่าผู้คนนิยมเดินทางไปกราบไหว้ขอพรมากที่สุดองค์หนึ่ง โดยเชื่อกัน ในหมู่ประชาชนจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงว่า หลวงพ่อใหญ่นี้ศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการกราบพระพุทธชินราชนี้ยังมีอานิสงค์ให้ชีวิตรุ่งเรือง มีโชคลาภด้วย   คาถาบูชาพระพุทธชินราช หมั่นภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ชีวิตไม่มีตกอับ ประวัติความเป็นมา ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ว่าพระพุทธชินราชถูกสร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แต่ข้อสันนิฐานเรื่องการสร้างพระพุทธชินราชที่ได้รับความนิยมที่สุดมาจาก พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารเล่าเรื่องตำนานเมืองเหนือในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวอ้างถึง การสร้างพระใหญ่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 หรือสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี อันเป็นคราวเดียวกับที่สร้างพระพุทธชินสีห์นั่นเอง ต่อมาในสมัยอยุธยา ปี 2146 สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมืองพิษณุโลกและเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช ในโอกาสนี้เอง โปรดให้มีการนำเครื่องราชูปโภคมาตีแผ่เป็นทองคำเปลวสำหรับปิดทองพระพุทธชินราช จึงถือเป็นการลงรักปิดทองครั้งแรก ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คราวเมื่อสงครามเสียกรุงฯครั้งที่ 2 กองทัพพม่าซึ่งนำโดยอะแซหวุ่นกี้ได้ตีเมืองพิษณุโลกสำเร็จ และเผาทำลายพระราชวังจันทร์กับพระวิหารประธานด้านตะวันออกของวัด ทว่าไม่ได้แตะต้องพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่อีกแห่ง พระพุทธชินราชจึงยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์สวยงามและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนมาตราบจนปัจจุบัน คาถาบูชาพระพุทธชินราช กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา […]