งานบุญเดือนหก ประเพณีขอฝน ของชาวอีสาน

งานบุญเดือนหก ประเพณีขอฝน ของชาวอีสาน

งานบุญเดือนหก ประเพณีขอฝน ของชาวอีสาน   วันนี้ ทางเลขเด็ดออนไลน์ ได้นำเรื่องราวความเชื่อ ที่สืบทอดกันตั้งแต่โบราณ มาให้อ่านกัน บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของ ภาคอีสาน ของประเทศไทย โดยมีที่มาจาก ตำนานพื้นเมือง หรือ นิทานพื้นบ้าน ในเรื่อง พญาคันคาก เรื่อง ผาแดงนางไอ่คำ และทั้งสอง ตำนาน มีการกล่าวถึง ชาวบ้านได้จัด งานบุญบั้งไฟ ขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน เพราะตาม ความเชื่อ เชื่อกันว่า พระยาแถน มีหน้าที่คอยดูแลให้ ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล นั้นเองค่ะ อีกทั้งยังชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หมู่บ้านใดไม่ จัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตก และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้     งานบุญบั้งไฟ จัดที่ไหนบ้าง การจัดงาน ประเพณีบุญบั้งไฟ นั้น ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในภาคอีสาน โดยมีหลายที่ทั้ง ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ อีกด้วยค่ะ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ อพยพมาจากเขตภาคอีสาน สำหรับประเพณี บุญบั้งไฟ ในภาคกลางนั้น มีการจัดงานในพื้นที่ของ อำเภอแม่เปิน นครสวรรค์ และ อำเภอลานสัก อุทัยธานี เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ 85% เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟและความเชื่อเรื่องพญาแถนติดตัวมาด้วยนั่นเอง และที่น่าแปลกใจก็คือ ในภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟได้ใน อำเภอสุคิริน นราธิวาส อีกด้วย โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี […]

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน   ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่วนมากต้องอาศัยฟ้าฝนในการทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาในภาคอีสาน ดังนั้นจึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ตำนานเรื่องเล่า ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนหก จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนาโดยมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ สำหรับการจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น […]