รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้

รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้

รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้     “บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไป ก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว?” การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญสะสมไว้ที่ถือได้ว่าได้บุญบารมีมากที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นแก่นแท้และได้บุญสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก เพราะว่าการเจริญภาวนาเป็นการเน้นระงับการทำความชั่วทาง “ใจ” คือเป็นการซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธองค์กล่าวเอาไว้ว่า “แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปีก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่ชั่วไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้” การเจริญภาวนานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. การทำสมาธิด้วยสมถะภาวนา การทำสมาธิแบบสมถะภาวนาคือ การกำหนดใจให้นิ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามขอให้เพียงแต่ใจอยู่นิ่งไม่ วอกแวกก็คือเป็นสมาธิ ถ้าเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและคนไทยเราคุ้นเคยที่สุดก็คือ “การไหว้พระสวดมนต์” การกำหนดจิตด้วยการสวดมนต์นี้จะทำให้จิตนิ่งอยู่ที่บทสวดก็เรียกได้ว่าเป็นการทำสมาธิระดับต้นขั้นที่หนึ่ง (ขณิกสมาธิ) 2. การเจริญปัญญา การเจริญปัญญานั้นต่างไปจากความเป็นสมาธิ ตรงที่สมาธิเป็นเพียงการทำใจให้สงบนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียวแน่นิ่งอยู่อย่าง นั้นโดยไม่ได้นึกคิดอะไร แต่การเจริญปัญญา (คำพระท่านว่า วิปัสสนา) ไม่ใช่ทำให้แค่จิตใจตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น การเจริญปัญญานั้นเป็นการคิด “ใคร่ครวญ” […]