คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) โชคลาภมงคลความรุ่งเรือง
คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่รู้จักกันดีในนามของ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในบริเวณเดียวกับพระบรมมหาราชวัง ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย และ เป็นองค์ประธานของพระพุทธรูปทั้งหลายในประเทศไทยอีกด้วย องค์พระแก้วมรกตนั้น สร้างจำลองขึ้นจากเหตุการณ์พุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงทำสมาธิหลังชนะกองทัพของพญามารได้ และอยู่ในอิริยาบถนั้นไปจนกระทั่งตรัสรู้ ทำ ให้พระแก้วมรกตขึ้นชื่อว่าให้คุณในด้านของความสงบสุข ตลอดจนนำ โชคลาภ มงคลความรุ่งเรืองในด้านต่างๆแก่ผู้ที่กราบไหว้ นอกจากนี้ ความพิเศษที่สำคัญที่สุดขององค์พระแก้วมรกตคือ ถึงแม้จะถูกเรียกว่ามรกต แต่ความจริงแล้ว องค์พระแก้วมรกตนั้นทำมาจากหินหยกอ่อนเนไฟร์ต (Nephrite) สีเขียวสดเสมอกันทั้งองค์ ไม่มีริ้วรอยหรือสีขุ่นแซมตรงไหน ซึ่งถือเป็นหินหยกอ่อนเนื้อดีที่หาได้ยากอย่างมากแม้ในปัจจุบัน ประกอบกับฝีมือช่างซึ่งสลักพระพุทธรูปเนื้อหินอ่อนด้วยกรรมวิธีที่ยังเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้ ทำให้พระแก้วมรกตไม่เป็นเพียงศูนย์รวมศรัทธาเท่านั้น หากยังเป็นงานพุทธศิลป์อันล้ำค่าที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วด้วย คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ลาภมงคลความรุ่งเรืองในด้านต่างๆ แก่ผู้ที่กราบไหว้ ประวัติความเป็นมา ความเป็นมาในการสร้างพระแก้วมรกตนั้นมีหลายแบบ ทั้งจากความเชื่อที่ว่าสร้างประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 5-6 โดยพระนาคเสนเถระ ที่เมืองปาฎลีบุตร ในประเทศอินเดียสมัยก่อน หรือจากการสันนิฐานผ่านรูปแบบศิลปะขององค์พระซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงก่อนเชียงแสน หรือประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 อย่างไรก็ดี หลักฐานการค้นพบพระแก้วมรกตที่ชัดเจนนั้น อยู่ในประมาณปี 1977 จากเหตุการณ์ที่ฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์เก่าในวัดป่ายะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย) พังลงและพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักด้านใน จึงมีการอัญเชิญออกมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ก่อนที่ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกจะกะเทาะ ทำให้เห็นเนื้อสีเหมือนมรกตที่อยู่ภายใน เมื่อกะเทาะปูนทั้งหมดออกจึงพบว่าองค์พระนั้นทำด้วยหินสีเขียวเหมือนมรกตทั้งองค์ […]