คลายสงสัย จุดสามจุดที่หน้าผากคู่บ่าวสาว มีความหมายอย่างไร

คลายสงสัย จุดสามจุดที่หน้าผากคู่บ่าวสาว มีความหมายอย่างไร

จุดสามจุดที่หน้าผากคู่บ่าวสาว มีความหมายอย่างไร   คลายสงสัย จุดสามจุดที่หน้าผากคู่บ่าวสาว ในพิธีแต่งงานแบบคนไทย เคยสังเกตที่หน้าผากเจ้าบ่าว เจ้าสาวไหมว่าทำไมต้องมีจุดสามจุด จนเป็นสัญลักษณ์การแต่งงาน สัญลักษณ์ที่ว่ามีความหมายว่าอะไร ทำไมต้องมี และมีขั้นตอนและพิธีการเจิมอย่างไร บทความนี้ เลขเด็ดออนไลน์ จะอธิบายให้ท่าน..   จุดทั้งสามจุดที่หน้าผากคู่บ่าวสาว มีความหมายคือ แก้วสามประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จุดประสงค์คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนคือเพื่อสร้างสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว แทนการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่โดยญาติทั้งคู่บ่าวสาวจะเลือกใช้ผู้ใหญ่ที่มีชีวิตคู่ที่ดี ประสบความสำเร็จเรื่องการงาน การครองเรือนที่น่ายกย่อง มีรักเดียวไม่เคยมีปากเสียงกัน มีบุตรธิดาที่เลี้ยงง่าย คือผู้เจิมหน้าผากให้คู่บ่าวสาว การเจิมจะเริ่มจากจุดกลางหน้าผากก่อนแล้วค่อยเจิมจุดซ้ายขวา ก่อนที่ธรรมเนียมไทยคู่บ่าวสาวจะนั่งคู่กันแล้วพนมมือรับน้ำสังข์จากญาติผู้ใหญ่และแขกผู้มาร่วมพิธี เมื่อจบพิธีกรรม ความเชื่อคนโบราณจะให้ผู้ใหญ่ที่เจิมหน้าผากให้คู่บ่าวสาวปูผ้าปูเตียงในห้องหอ คือความเชื่อว่าจะครองคู่ไปตลอดกาล   ความเชื่อเรื่องการเจิมสามจุดแต่ละภูมิภาคไม่เหมือนกัน บางความเชื่อให้พระสงฆ์เจิมให้ฝ่ายชายก่อน แล้วให้พระจับมือฝ่ายชายเจิมให้ฝ่ายหญิงต่อ ส่วนประเพณีการเจิมหน้าผากคนโบราณจะใช้แป้งกระแจะ คือพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมนำเปลือกราก เนื้อไม้มาบดรวมกันกับแป้งร่ำ และเครื่องหอมบางชนิด เรียกรวมว่าแป้งกระแจะจันทร์ คุณสมบัติพิเศษคือมีกลิ่นหอม สาว ๆ โบราณชอบนำมาทาตัว จากนั้นคนโบราณจะนำแป้งกระแจะจันทร์ไปปลุกเสกโดยผสมน้ำมนต์ลงไปก่อนนำไปเจิมให้คู่บ่าวสาว การแต่งงานคือการที่ชายและหญิงตกลงปลงใจใช้ชีวิตร่วมกัน ร่วมกันทุกข์ร่วมสุขสร้างครอบครัว พิธีแต่งงานเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณทุกชาติพันธุ์ เพราะเป็นการสืบวงศ์ตระกูล ที่สำคัญจะตระหนักเรื่องไม่ชิงสุกก่อนห่าม ประพฤติตนอยู่ในประเพณีที่ดีงาม […]

ครบทุกขั้นตอนกับ พิธีแต่งงานไทย แบบสเต็ปบายสเต็ป

ครบทุกขั้นตอนกับ พิธีแต่งงานไทย แบบสเต็ปบายสเต็ป

ครบทุกขั้นตอนกับ พิธีแต่งงานไทย   หนึ่งในปัญหาคับอกของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวคือ พิธีแต่งงานไทย เพราะมีหลายขั้นตอน และค่อนข้างยาก จะทำอะไรก็กลัวจะผิดจะพลาดไปหมด เราเข้าใจคุณผู้อ่านดี จึงขอช่วยแบ่งเบาด้วยสกู๊ปพิธีแต่งงานแบบไทยตามสมัยนิยมมาให้ว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ใช้เป็นแนวทาง   เจรจาสู่ขอ ตามธรรมเนียมไทยนั้นเมื่อหมายมั่นจะขอลูกสาวบ้านไหน พ่อแม่ฝ่ายชายจะต้องหา “เถ้าแก่” ซึ่งก็คือผู้หลักผู้ใหญ่ที่น่านับถือไปทาบทามผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ทางฝ่ายหญิงจึงต้องถามไถ่ถึงนิสัยใจคอของว่าที่เจ้าบ่าวว่าเป็นคนดีไหม ขยันขันแข็งไหม ฯลฯ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถดูแลลูกสาวของตัวเองได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเถ้าแก่ฝ่ายชายที่จะต้องช่วยรับรองให้ เดี๋ยวนี้ว่าที่พ่อตาแม่ยายอาจจะรู้จักมักจี่ว่าที่ลูกเขยกันอยู่แล้ว แต่ก็ยังคงถามตามธรรมเนียม ประมาณว่าได้ยินผู้ใหญ่รับประกันแล้วสบายใจขึ้น (แม้จะรู้ว่าเถ้าแก่ก็ต้องพูดแต่สิ่งดี ๆ ก็ตาม) เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงจึงจะเป็นการเจรจาเรื่องสินสอดทองหมั้นและเตรียมหาฤกษ์งามยามดีรอไว้   พิธีหมั้น เมื่อถึงฤกษ์หมั้น ฝ่ายชายจะจัดพานขันหมากหมั้นซึ่งประกอบด้วยหมาก พลู และของหมั้นอื่น ๆ ตามที่ตกลง ผูกผ้าห่อมาอย่างดี พานแหวน กรณีให้บ้านพร้อมที่ดิน อาจทำกิมมิกเก๋ ๆ ด้วยการปั้นขนมปังสีเป็นรูปบ้านน่ารักๆ วางมาด้วยก็ได้ ท้ายขบวนตามมาด้วยพานขนมมงคลอีกตามสมควรไปยังบ้านฝ่ายหญิงโดยไม่มีการแห่เหมือนขันหมากแต่ง (ยกเว้นบางพื้นที่) พอผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเปิดดูข้าวของว่าถูกต้องครบถ้วนก็ยกไปเก็บแล้วตามตัวเจ้าสาวออกมารับหมั้น สมัยนี้นิยมหมั้นเช้าแต่งเย็น ก็จะยุบขั้นตอนนี้ไปรวมไว้ในวันแต่งเลย หรือถ้าจะมีการหมั้นก่อนก็อาจแค่หยิบกล่องแหวนหมั้นออกมาสวมโดยไม่มีขันถาดหมากพลู ของแบบนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน   แห่ขันหมาก ฝ่ายเจ้าบ่าวจะตั้งขบวนขันหมากแห่มายังบ้านเจ้าสาวอย่างครึกครื้นเพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าลูกสาวบ้านนี้ขายออก เอ๊ย ออกเรือนแล้วจ้า   กั้นประตูเงินประตูทอง […]