พระคาถาหลวงพ่อปาน "สาธุ" สุดยอดพระคาถา หมั่นท่อง หมั่นจำ รับรองดีแน่ รีบดูเลย !!

พระคาถาหลวงพ่อปาน “สาธุ” สุดยอดพระคาถา หมั่นท่อง หมั่นจำ รับรองดีแน่ รีบดูเลย !!

พระคาถาหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา หลวงพ่อปาน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ ที่ย่านบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาชีพทางครอบครัว คือ ทำนา ครอบครัวของท่านนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ สมัยนั้นเขายังมีทาสกันอยู่ ที่บ้านท่านก็มีทาส เมื่อตอนท่านเกิดมา มีปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว โยมบิดาจึงตั้งชื่อท่านว่า “ปาน”   พระคาถาหลวงพ่อปาน คาถาเงินล้าน   เมื่อโตขึ้นท่านก็ช่วยบิดามารดาทำนา ท่านเป็นคนขยัน ท่านได้ช่วยเหลือในกิจการงานของบิดามารดามาตลอดจนอายุใกล้จะครบบวช ทางฝ่ายบิดามารดาก็จะไปขอหญิงสาวเพื่อจะมาเป็นคู่ครอง โดยบิดามารดาท่านให้เหตุผลว่า เมื่อบวชแล้วสึกมาจะได้แต่งงานกัน หญิงสาวที่บิดามารดามองหาให้นั้นเป็นลูกคนรวย แต่ท่านบอกว่า เรื่องแต่งงานเอาไว้ทีหลัง ขอให้บวชเสียก่อน บวชแล้วไม่แน่จะสึกหรือไม่สึก ถ้าสึกก็แต่ง ไม่สึกก็ไม่แต่ง ไปขอเขาอย่างนั้นจะเป็นการลากหนามจุกตรอก คนอื่นที่เขาดีกว่าเขามาขอจะได้แต่งงานไป ทำอย่างนั้นไม่ควร ในที่สุดเมื่อบิดามารดาท่านเห็นว่าท่านค้านก็เลยตามใจ แล้วพอดีถึงตอนจะบวช ในสมัยนั้นเวลาก่อนจะบวชต้องอยู่วัดก่อนถึง 3 เดือน เขาเรียกกันว่า ติฎฐิยะปริวาส พระพุทธเจ้ามีพระบัญญัติอย่างนั้น มีพระพุทธบัญญัติสั่งแบบนั้น เมื่อคนจะบวชจะต้องอยู่วัดถึง 3 เดือน อบรมธรรมวินัยให้มีนิสัยดี […]

บทสวดบูชาองค์พระพิราพ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ อำนาจบารมี

บทสวดบูชาองค์พระพิราพ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ อำนาจบารมี

บทสวดบูชาองค์พระพิราพ พระพิราพ คือ อวตารปางหนึ่งของ พระอิศวร หรือ ศิวะอวตาร ถือเป็นบรมครูสูงสุดของทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้นเป็นภาคของ พระอิศวรปางไภรวะ (ปางดุร้าย) เสมือนหนึ่งพระแม่กาลี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของ พระอุมา ในคติดั่งเดิมเรียกองค์พระพิราพว่า พระไภรวะ พระไภราวะ หรือ พระไภราพ ซึ่งเป็นคนละองค์กันกับ ยักษ์วิราธ หรือ พระพิราพป่า ในเรื่องรามเกียรติ์ พระองค์ คือ บรมครูยักษ์ เป็นมหาเทพแห่งสงคราม การทำลายล้าง บันดาลได้ทั้งความเป็นและความตาย เป็นมหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย และขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้สิ้นไป โดยในประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือ พระไภรวะ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า วิจิตรตาณฑวะ ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น นาฏราช ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพยำเกรง เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยนับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลาย รวมไปถึง พระไภรวะ จึงติดตามมา โดยคติการนับถือพระพิราพ กับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) บทสวดบูชาองค์พระพิราพ เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์ มหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย กรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของ พระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก โดยในปัจจุบันคติการนับถือ พระพิราพ แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์ และพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก นิยมสร้างวัตถุมงคลที่มีลักษณะของพระพิราพขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีบทสวดบูชาดังนี้ อิมัง […]