เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ   วันนี้ ทางเลขเด็ดออนไลน์ ได้นำเรื่องราวความเชื่อ ที่เล่าขานสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ มาให้อ่านกัน ประเพณีรับบัว ประเพณีโยนบัว เป็นของภาคอะไร มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร รวมไปถึง มีความสำคัญอย่างไร ประเพณีรับบัว หรือ ประเพณีโยนบัว เป็นประเพณีของชาว สมุทรปราการ ที่สืบทอดประเพณีมากว่า 80 ปีแล้ว โดยจะจัดขึ้นในช่วง ใกล้ออกพรรษาของทุกปี วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่ง วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 โดยในปีนี้ 2565 จะมีการ จัดงานประเพณีรับบัวบางพลี ในช่วงวันที่ 4 – 11 ตุลาคม 2565 โดยวันที่ 9 ตุลาคม เป็น วันโยนบัว ไปทำความรู้จักประเพณี รับบัว โยนบัว กันเลย..     ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ สมุทรปราการ ประเพณีรับบัว ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัวนี้จะจัดขึ้นใน วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 […]

ต้นรักกับธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของไทย

ต้นรักกับธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของไทย

ต้นรักกับธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของไทย   วันนี้ เลขเด็ดออนไลน์ ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับ “ต้นรัก”กับธรรมเนียม ประเพณี มาให้ได้ทราบกัน ต้นรักเป็นพันธุ์ไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นริมทาง แม้แต่ริมทะเลก็สามารถพบได้ เพราะต้นรักขึ้นง่าย ทนทาน บางครั้งจะเห็นเมล็ดรักซึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ยาวๆ ปลิวตามลม เมื่อตกลงไปในที่ซึ่งมีความชื้นพอสมควร จะงอกขึ้นเป็นต้นใหม่ได้ มีชื่อที่ใช้เรียกหลายชื่อ ได้แก่ รัก รักดอก หรือรักร้อยมาลัย เพราะคนไทยรู้จักดอกไม้ชนิดนี้มากที่สุดจากการนำมาร้อยเป็นอุบะพวงมาลัย นั่นเอง รักมี ถิ่นกำเนิดในเอเชียกลางและอินเดีย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเข้ามาสู่เมืองไทยเมื่อใด เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒.๕ เมตร ใบใหญ่ ก้านสั้นมีขนนุ่ม และมีนวลขาวทั้งใบ ดอกมี ๒ สี คือ สีขาวและสีม่วง ออกดอกเป็น ช่อใหญ่ ค่อนข้างกลมที่ปลายกิ่งและซอกใบ เมื่อดอกบาน กลีบดอก ๕ กลีบ จะแผ่ออกจากกันเป็นวง เห็นส่วน ที่เป็นสัน ๕ สัน คล้ายมงกุฎอยู่ตรงกลาง ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย […]

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน   ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่วนมากต้องอาศัยฟ้าฝนในการทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาในภาคอีสาน ดังนั้นจึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ตำนานเรื่องเล่า ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนหก จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนาโดยมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ สำหรับการจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น […]