บทแผ่เมตตา อานิสงส์ของการทำบุญ การสวดมนต์และหน้าที่ชาวพุทธ

บทแผ่เมตตา อานิสงส์ของการทำบุญ การสวดมนต์และหน้าที่ชาวพุทธ

บทแผ่เมตตา อานิสงส์ของการทำบุญ บทแผ่เมตตา การแผ่เมตตา นี้มีความหมายมาก เพราะเป็นการแผ่เมตตาจิตของตนเองไปยังสรรพสัตว์ และเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย และด้วยการแผ่เมตตานี้ต้องทำด้วยจิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส จึงจะได้ผลดี นั่นก็คือ “ผู้คนทั้งหลายและสรรพสัตว์ ก็จะมีเมตตาต่อเรา” กลับคืนมาเช่นกัน บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง อะหัง สุขิโต โหมิ, ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข, อะหัง นิททุกโข โหมิ, ปราศจากความทุกข์, อะเวโร โหมิ, ปราศจากเวร, อัพพะยาปัญชา โหมิ, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง, อะนีโฆ โหมิ, ปราศจากความทุกข์, สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ. มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้น จากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด. บทแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ สัพเพ สัตตา, สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น, อะเวรา โหนตุ, จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้ มีเวรต่อกันและกันเลย, อัพพะยาปัญชา โหนตุ, จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้ เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, อะนีฆา โหนตุ, จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ. จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย […]

รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้

รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้

รู้หรือไม่ ต่อให้เรารักษาศีลถึง 100 ปี ก็สู้การทำ 1 สิ่งนี้ไม่ได้     “บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไป ก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว?” การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญสะสมไว้ที่ถือได้ว่าได้บุญบารมีมากที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นแก่นแท้และได้บุญสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก เพราะว่าการเจริญภาวนาเป็นการเน้นระงับการทำความชั่วทาง “ใจ” คือเป็นการซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธองค์กล่าวเอาไว้ว่า “แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปีก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่ชั่วไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้” การเจริญภาวนานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. การทำสมาธิด้วยสมถะภาวนา การทำสมาธิแบบสมถะภาวนาคือ การกำหนดใจให้นิ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามขอให้เพียงแต่ใจอยู่นิ่งไม่ วอกแวกก็คือเป็นสมาธิ ถ้าเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและคนไทยเราคุ้นเคยที่สุดก็คือ “การไหว้พระสวดมนต์” การกำหนดจิตด้วยการสวดมนต์นี้จะทำให้จิตนิ่งอยู่ที่บทสวดก็เรียกได้ว่าเป็นการทำสมาธิระดับต้นขั้นที่หนึ่ง (ขณิกสมาธิ) 2. การเจริญปัญญา การเจริญปัญญานั้นต่างไปจากความเป็นสมาธิ ตรงที่สมาธิเป็นเพียงการทำใจให้สงบนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียวแน่นิ่งอยู่อย่าง นั้นโดยไม่ได้นึกคิดอะไร แต่การเจริญปัญญา (คำพระท่านว่า วิปัสสนา) ไม่ใช่ทำให้แค่จิตใจตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น การเจริญปัญญานั้นเป็นการคิด “ใคร่ครวญ” […]