บทสวดบูชาองค์พระพิราพ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ อำนาจบารมี

บทสวดบูชาองค์พระพิราพ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ อำนาจบารมี

บทสวดบูชาองค์พระพิราพ พระพิราพ คือ อวตารปางหนึ่งของ พระอิศวร หรือ ศิวะอวตาร ถือเป็นบรมครูสูงสุดของทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้นเป็นภาคของ พระอิศวรปางไภรวะ (ปางดุร้าย) เสมือนหนึ่งพระแม่กาลี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของ พระอุมา ในคติดั่งเดิมเรียกองค์พระพิราพว่า พระไภรวะ พระไภราวะ หรือ พระไภราพ ซึ่งเป็นคนละองค์กันกับ ยักษ์วิราธ หรือ พระพิราพป่า ในเรื่องรามเกียรติ์ พระองค์ คือ บรมครูยักษ์ เป็นมหาเทพแห่งสงคราม การทำลายล้าง บันดาลได้ทั้งความเป็นและความตาย เป็นมหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย และขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้สิ้นไป โดยในประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือ พระไภรวะ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า วิจิตรตาณฑวะ ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น นาฏราช ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพยำเกรง เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยนับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลาย รวมไปถึง พระไภรวะ จึงติดตามมา โดยคติการนับถือพระพิราพ กับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) บทสวดบูชาองค์พระพิราพ เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์ มหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย กรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของ พระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก โดยในปัจจุบันคติการนับถือ พระพิราพ แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์ และพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก นิยมสร้างวัตถุมงคลที่มีลักษณะของพระพิราพขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีบทสวดบูชาดังนี้ อิมัง […]