ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือ  เรื่องเล่าจากอดีต สู่ปัจจุบัน

ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือ เรื่องเล่าจากอดีต สู่ปัจจุบัน

ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือ เรื่องเล่าจากอดีต สู่ปัจจุบัน ศาลเจ้าพ่อเสือเดิม มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปีที่ก่อสร้างตรงกับ พ.ศ. 2377 มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดมหรรณพาราม ตามตำนานที่ได้เล่าขานเรื่องของ เจ้าพ่อเสือเล่ากันว่า ยายผ่องและนายสอน สองแม่ลูกที่มีชีวิตลำบาก ด้วยความยากจนทุกๆวันนายสอนจะต้องเข้าป่า ไปเก็บของป่ากลับมาให้มารดาเสมอ วันหนึ่งนายสอนได้ออกหาของป่าเหมือนทุกวันๆ แต่วันนี้ของกลับหายากจึงต้องเดินลึกเข้าไปในป่า เขาได้พบกับซากกวางพึ่งตายใหม่ๆ เขารู้ได้ทันทีว่าจะต้องมีเสือผู้เป็นเจ้าของซากกวางอยู่บริเวณนี้เป็นแน่ แต่ด้วยความกตัญญู นายสอนได้รำลึกถึงมารดา เขาอยากให้มารดาได้รับประทานเนื้อกวางนี้ จึงได้เข้าไปตัดเนื้อกวาง ตัดมาได้ก้อนหนึ่ง ซึ่งใน ขณะนั้น เสือที่ซุ่มอยู่ ได้กระโจนเข้ามากัดนายสอน จนสาหัส ขย้ำจนได้แขนของนายสอนไปข้างหนึ่ง นายสอนด้วยการป้องกันตัวจึึงได้ใช้มีด แทงไปที่หน้าผากของเสือตัวนั้นจนสาหัสเช่นกันและกระโจนจากไป หลังจากนายสอนหนีลงไปซ่อนตัวในหนองน้ำแล้ว นายสอนจึงค่อยตะเกียกตะกายกลับไปหามารดา แม้จะบาดเจ็บสาหัสแต่ด้วยใจที่รำลึกถึงมารดา เขาได้พาตัวเองกลับมาถึงบ้านได้ เมื่อยายผ่องผู้เป็นมารดาเห็นสภาพบุตรชาย จึงรีบถลาเข้ามา นายสอนเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้ฟังจากนั้นไม่นานจึงสิ้นใจ ยายผ่องโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมากได้นำเรื่องไปแจ้งแก้นายอำเภอเพื่อให้ช่วยตามเสือร้ายนั้นมาลงโทษ นายอำเภอเห็นใจและรวมตัวกับปลัดไปออกตามหาเสือร้ายตัวนั้น หาเท่าใดๆก็ไม่พบ ปลัดจึงไปยังวัดมหรรณพาราม ไปอธิษฐานหลวงพ่อบุญฤทธิ์ และหลวงพ่อพระร่วง (พระประธานใหญ่ในวัดมหรรณพาราม )หลังจากนั้นไม่นานนัก ด้วยแรงอธิษฐานแล้วเห็นอาการของเสือไม่มีร่องรอยแห่งความดุร้ายเหลืออยู่เลย มันทำตาริบหรี่คล้ายกลับยอมให้จับโดยดี เมื่อจับเสือได้ จึงนำตัวมันมาตัดสินประหารชีวิตมัน เสือตัวนี้มิได้ขัดขืนแต่อย่างใดแถมยังแสดงอาการ รับรู้รับฟังคำตัดสินแต่โดยดี […]