บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน

บั้งไฟ ประเพณี ความเชื่อกับการขอฝนของชาวอีสาน   ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่วนมากต้องอาศัยฟ้าฝนในการทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาในภาคอีสาน ดังนั้นจึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ตำนานเรื่องเล่า ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนหก จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนาโดยมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ สำหรับการจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น […]