วันแบ่งฤดู ตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่น
วันนี้ เลขเด็ดออนไลน์ ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อของชาวญี่ปุ่นเรื่อง “วันแบ่งฤดู” มาให้อ่านกัน.. ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีฤดูกาล 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งแต่ละฤดูก็มีความสวยงาม ความน่ารักอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งตามปฏิทินทางจันทรคติถือเป็นวันที่แบ่งฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิออกจากกัน ดังต่อไปนี้
วันที่ 3 เซทสึบุน (Setsubun) วันแบ่งฤดู
วันที่ 4 ริชชุน (Risshun)วันเริ่มต้นของฤดูใบไม่ผลิ
ในทุกๆวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกๆปี จะเป็นวันเซทสึบุนตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นจะมีประเพณีมาเมมาคิ (Mamemaki) หรือ ประเพณีการโปรยถั่วเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจออกไปและต้อนรับฤดูใบไม้ผลิใหม่ที่จะมาถึง โดยประเพณีดังกล่าวมักนิยมทำกันตามวัดพุทธ และวัดชินโต ขณะโยนถั่วออกนอกบ้านว่าโอนิ วะโซโตะ แปลว่า สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย จงออกไปและจะโยนถั่วจากข้างนอกเข้าไปในบ้าน และตะโกนว่า ฟุกุ สะ อุจิ แปลว่าความเป็นสิริมงคลจงเข้ามา นอกจากนี้ยังมีการร่ายรำรับพร ฯลฯ แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นถือว่าชายในวัย 25,41,42,43 และ 61 ปี หญิงในวัย 19,32,33,34,37 และ 61 ปีเป็นวัยที่จะมีเคราะห์ ควรสะเดาะเคราะห์รับพรจากเทพเจ้าก่อนวันเกิดหรือในต้นปีนั้นๆ นอกจากนี้แล้วชาวญี่ปุ่นยังมีความเชื่อว่าถ้ารับประทานถั่วจำนวนเท่าอายุจะทำให้แข็งแรงตลอดปี
วันที่ 4 เป็นวันริชชุน ซึ่งหมายถึง การเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิแม้ว่าอากาศจะยังหนาวอุณหภูมิยังคงต่ำอยู่ แต่ดอกบ๊วยและดอกจุ๊ยเซียนหรือดอกแดฟโฟดิลก็จะเริ่มบานส่งกลิ่นหอมหวนในบรรยากาศที่เยือกเย็น หลังช่วงกลางเดือนไปแล้ว ฮารึอิจิบัง (Haruichiban) ก็จะมา ฮารึอิจิบัง เป็นลมแรงที่พัดมาจากทางทิศใต้บอกให้รู้ว่า ฤดูใบไม้ผลิจะมาถึงแล้ว ผู้คนก็จะเฝ้ารอคอยฤดูใบไม้ผลิที่ค่อยๆย่างก้าวเข้ามา
ติดตามอ่านความเชื่อ และคำทำนายแม่นๆแบบนี้ได้ใหม่ที่ www.lekdedonline.com
เลขเด็ดออนไลน์ ตรวจผลหวยรัฐบาล หวยลาว หวยฮานอย หวยมาเลย์ แนวทางหวย รวบรวมทุกอย่างครบจบในเว็บเดียวเพื่อความสะดวกสบาย และยังมี วิธีการขอหวย สถานที่ขอหวยที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทยรวบรวมมให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านศึกษากันอย่างครบครัน แนวทางที่ทางเว็บเรานำมาแบ่งปันให้คนรักหวยได้ชม.
*** ดวงรายวัน เลขเด็ดมงคล เลขมงคล เลขเสี่ยงทาย ดูดวงจากตัวเลข ทำนายฝัน ***
ต้องที่นี่ >>> เลขเด็ดออนไลน์ <<<
ข้อมูล : thaiza.com
ภาพ : AllAbout-Japan.com , Pixabay